Web Analytics
ประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทย

ตำนานแหลมทองถวายพระพร รัชกาลที่ 10

 

ทีมชาติไทยชุดชนะเลิศกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2518 ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในหลวง รัชกาลที่ 10 เมื่อครั้งเสด็จทอดพระเนตรฟุตบอลและพระราชทานคล้องเหรียญสุดท้ายลำดับที่ 1,061 ของกีฬาเซียพเกมส์ ถือเป็นทีมชาติชุดแรกในประวัติศาสตร์ที่ลงเล่นนัดชิงหน้าพระที่นั่งแล้วทีมชาติไทยเป็นแชมป์

บทความ เรื่อง “นักเลงฟุตบอลแสดงความกล้าหาญ”

ในวงการลูกหนังเมืองไทย นอกจากอนุสาวรีย์ อัศวิน ธงอินเนตร ผู้รักษาประตู ALL STAR คนแรกของทวีปเอเชียที่ตั้งอยู่ ณ สนามฟุตบอลสโมสรธนาคารกรุงเทพ บางนา แล้ว ยังมีอนุสรณ์สถานอีกแห่งหนึ่งอันเกี่ยวเนื่องกับวีรกรรมนักเลงลูกหนังทีมชาติสยาม โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘

บทความ เรื่อง “ถ้วยทองของหลวง”

 

นับจากการแข่งขันฟุตบอลกติกา ร.ศ. 119 หรือ พ.ศ. 2443 อย่างเป็นทางการแล้วในสยามประเทศ กรมศึกษาธิการจึงจัดลูกหนังนักเรียนชิงโล่ของกระทรวงธรรมการ ขึ้นในปี พ.ศ. 2444 แต่หลังจากนั้นถึง 14 ปี จึงเกิดมีทัวร์นาเมนท์ระดับสโมสรขึ้นเป็นครั้งแรก

บทความ เรื่อง "ถ้วยใหญ่แห่งสยามประเทศ"

 

ในสมัยที่เรียกกันว่า “ยุคทองของฟุตบอลเมืองสยาม” นั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ จัดการแข่งขันสำหรับพระราชทานถ้วยทองของหลวง หรือถ้วยพระราชทานใบแรกของวงการลูกหนังไทย เมื่อพุทธศักราช 2458 โดยทีมส่วนใหญ่เป็นทหาร ตำรวจ เสือป่าและข้าราชบริพาร

บทความ เรื่อง "โอลิมปิก เมลเบิร์น 1956 เกมส์เกียรติยศ"

 

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา คืออีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ ครบรอบ 55 ปี ที่นักเตะตราธงไตรรงค์ในฐานะทีมตัวแทนทวีปเอเชีย ลงเล่นฟุตบอลโอลิมปิก “เกมส์เกียรติยศ” รอบ 16 ทีมสุดท้าย ณ เมืองเมลเบิร์น รายการระดับโลกครั้งแรกของทีมชาติไทย

บทความ เรื่อง “นักเตะอาวุโสที่สุดของทีมชาติไทย” บำเพ็ญ ลัทธิมนต์

ตามหลักฐานของสมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย (สปท.) ที่ได้สำรวจฐานข้อมูลพบว่านักฟุตบอลที่เคยลงเล่นในนาม “ทีมชาติไทย” ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ และมีอายุสูงสุด คือ “บำเพ็ญ ลัทธิมนต์” อดีตนักเตะทีมชาติชุดโอลิมปิก ครั้งที่ 16 ค.ศ. 1956 (พ.ศ. 2499) ณ เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปัจจุบันมีอายุถึง 81 ปี

อนึ่ง ก่อนปี พ.ศ. 2500 นั้...น ยังไม่มีการก่อตั้งสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC.) ดังนั้น ทำให้การแข่งขันระดับชาติจึงยังไม่เกิดขึ้น

บทความ เรื่อง “แด่ลูกหนังด้วยดวงใจ” ประสันต์ สุวรรณสิทธิ์

นักเตะจากปักษ์ใต้ที่ปฏิเสธตำแหน่งกัปตัน “ทีมธงไตรรงค์” ชุดประวัติศาสตร์โอลิมปิกสมัยแรก ด้วยเคารพอาวุโสรุ่นพี่ อดีตเจ้าของคอลัมน์ "แด่ลูกหนังด้วยดวงใจ" ที่เล่าถึงตำนานอันลือลั่นของขุนพลลุ่มเจ้าพระยาในหนังสือกีฬาฉบับหนึ่งเมื่อกว่า 30 ปีที่ผ่านมา อันอาจกล่าวได้ว่า คือบทความอ้างอิงที่สำคัญของวงการฟุตบอลเมืองไทย

บทความ เรื่อง “กัปตันทีมชาติไทย” วิวัฒน์ มิลินทจินดา

วันที่ 6 ตุลาคม 2482 ในรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข เพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศ พุทธศักราช 2482 มาตรา 3 นามประเทศนี้ ให้เรียกว่า "ประเทศไทย" และบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย อื่นใดซึ่งใช้คำว่า "สยาม" ให้ใช้คำว่า "ไทย" แทน จึงทำให้ทีมชาติชุดโอลิมปิก เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ค.ศ. 1956 จึงใช้ชื่อว่า "ทีมชาติไทย" ลงสนามแข่งขันระดับชาติ โดยมีเขารับหน้าท...ี่หัวหน้าทีมคนแรก ในนามประเทศไทย
Load more