บทความ เรื่อง “กัปตันทีมชาติไทย” วิวัฒน์ มิลินทจินดา
วันที่ 6 ตุลาคม 2482 ในรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข เพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศ พุทธศักราช 2482 มาตรา 3 นามประเทศนี้ ให้เรียกว่า "ประเทศไทย" และบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย อื่นใดซึ่งใช้คำว่า "สยาม" ให้ใช้คำว่า "ไทย" แทน จึงทำให้ทีมชาติชุดโอลิมปิก เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ค.ศ. 1956 จึงใช้ชื่อว่า "ทีมชาติไทย" ลงสนามแข่งขันระดับชาติ โดยมีเขารับหน้าท...ี่หัวหน้าทีมคนแรก ในนามประเทศไทย
วิวัฒน์ มิลินทจินดา เป็นชาวพระนคร เกิดวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2465 เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรีย นอัสสัมชัญบางรัก (พ.ศ. 2478) ในขณะนั้น มีบราเธอร์ชาวฝรั่งเศสเป็นผ ู้ฝึกสอนชั้นเชิงการเล่นฟุต บอลให้ กล่าวกันว่าเทคนิกสำคัญ คือการเตะลูกก่อนที่จะ ตกถึงพื้นหรือ "วอลเล่ย์" นั้นเอง ก่อนลงสนามลูกหนังประเภทรุ่ นเล็ก เพื่อชิงโล่ของกรมพลศึกษา
ต่อมา วิวัฒน์ มิลินทจินดา ได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรี ยมมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร ์และการเมือง และลงเล่นตำแหน่งศูนย์หน้าใ ห้กับเตรียมธรรมศาสตร์ ก่อนช่วยพาทีมชนะเลิศฟุตบอล ระหว่างโรงเรียนเตรียม ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์ฯ , ธรรมศาสตร์, นายร้อยทหารบก และนายเรือ ด้วยเอกลักษณ์การเตะบอลอันห นักหน่วง จึงได้รับฉายา "เจ้าปืนใหญ่" จากหนังสือพิมพ์เสียงอ่างทอ ง
นอกจากนี้ ในการแข่งขันลูกหนังชิงถ้วย พระราชทานประจำปีของสมาคมฟุ ตบอลฯ วิวัฒน์ มิลินท จินดา ลงเล่นให้กับสโมสรท่าพระจัน ทร์ชุดชนะเลิศถ้วยน้อย (ถ้วย ข) และสโมสรเจ้าพระยาเครือเหลื องแดงเช่นกัน แต่ภายหลังจึงย้ายไปร่วมสร้ างความสำเร็จกับสโมสรชายสด ก่อนช่วยทีมกลายเป็นสโมสรที ่ 11 ของวงการลูกหนังเมืองไทยที่ คว้าถ้วยใหญ่ (ถ้วย ก) ประจำปี พ.ศ. 2494 พร้อมทั้งสร้าง ตำนานถ้วยใหญ่ ด้วยการขับเคี่ยวกับสโมสรทห ารอากาศ เพื่อแย่งชิงถ้วยพระราชทานอ ีกหลายสมัยติดต่อกัน
ในระหว่าง พ.ศ. 2490 - 2498 ทัวร์นาเม้นต์ระดับชาติของท วีปเอเชีย ยังไม่มีการจัดขึ้นอย่างเป็ นทางการ (เมอร์เดก้าของมาเลเซีย เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2500) ดังนั้น จึงมีแต่นัดกระชับมิตรระหว่ างชาติเพื่อนบ้านใกล้เคียง นอกจากนี้แล้วจะเชิญสโมสรจา กฮ่องกง ซึ่งกล่าวกันว่า เป็นทีมฟุตบอลแข็งแกร่งที่ส ุดสมัยนั้น เพราะฮ่องกงมีลีกอาชีพแบบอั งกฤษ เกิดขึ้นแล้วนั้นเอง โดยสโมสรที่เข้ามาแข่งขันบ่ อยครั้ง อาทิ ทีมชิงเตา, ทีมตุงฟัง, ทีมเกาลูนบัส, ทีมเซาท์ไชน่า, ทีมเซี่ยงไฮ้ ฯลฯ จึงทำให้ นายกอง วิสุทธิ์ธารมณ์ และนายประกอบเกื้อ บุนนาค เป็นผู้ริเริ่มความคิดเอาบร รดานักเตะชื่อก้องของฟ้าเมื องไทยจากสโมสรต่าง ๆ รวมตัวฝึกซ้อม เพื่อเตรียมไว้ลับแข้งกับที มต่างชาติเหล่านั้น โดย วิวัฒน์ มิลินทจินดา คือหนึ่งในขุนพลนักเตะ "ทีมกรุงเทพผสม" หรือกรุงเทพ 11 และตลอดระยะเวลาของการลงสนา มสามารถซัลโวสกอร์ให้ทีมได้ ประมาณ 15 ประตู
สำหรับประตูแห่งความทรงจำขอ ง “เจ้าตีนระเบิด” คือแมตช์อุ่นเครื่องของทีมช าติไทยก่อนเดินทางไปแข่งขัน ฟุตบอลโอลิมปิก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2499 ณ สนามศุภชลาศัยฯ โดยพบกับสโมสรไวเนอร์สปอร์ต คลับ (นัดแรก ทีมไทยแพ้ทีมจากเวียนนา ซึ่งมีผู้เล่นทีมชาติออสเตร ียกว่าครึ่งทีม 0 - 12) แต่ประตูแรกของ เกมนี้ กลับเกิดขึ้นจากฝีเท้าการยิ งระยะไกลของกัปตันทีมชาติไท ย วิวัฒน์ มิลินทจินดา ทำให้ทีมไทยออกนำ ไปก่อน ครึ่งแรก 1 - 0 ก่อนจะถูกสโมสรอาชีพของยุโร ปทีมแรกที่เดินทางมากรุงเทพ ฯ สอนเชิงไปถึง 1 - 7
แม้การแข่งขันฟุตบอลโอลิมปิ ก รอบ 16 ทีมสุดท้าย ครั้งที่ 16 ณ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. 2499 ทีมชาติไทยจะตกรอบสอง เพราะพ่ายต่อทีมสหราชอาณาจั กร 0 - 9 ที่มีนักเตะสมัครเล่นจากฟุต บอลดิวิชั่นทั้งทีมแล้ว ถือว่าเป็นเกียรติประวัติคร ั้งสำคัญในชีวิตนักฟุตบอลที มชาติ นอกเหนือจากความภาคภูมิใจที ่ถูกบันทึกว่าเป็น “กัปตันทีม” คนแรกในทัวร์นาเม้นต์ระดับน านาชาติของทีมชาติไทย
วิวัฒน์ มิลินทจินดา เคยกล่าวถึงแมตช์โอลิมปิกที ่เมลเบิร์นอย่างน่าฟังว่า
"ในสมัยนั้น มาตรฐานของนักเตะไทย ก็ยังคงเทียบไม่ได้กับทีมจา กเกาะอังกฤษ หรือแม้แต่ทีมในเอเชียบางชา ติ แต่พวกเราทั้ง 13 คน มีเพียงอย่างเดียวที่เหมือน กับผู้เล่นชาติอื่น ๆ ที่ได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่ งขันในโอลิมปิกครั้งนั้น ก็คือความตั้งใจ ที่ต้องการจะเล่นให้ดีที่สุ ด เพื่อชื่อเสียงของประเทศชาต ิ ทีมชาติของเราสมัยก่อนนั้นไ ม่มีโค้ชนักฟุตบอลจะเล่นกัน เองวางแผนกันเอง แม้แต่ชุดแข่งขันเราก็เตรีย มไปเพียงชุดเดียว และปรากฏว่าไปตรงกับชุดสีขา วของทีมอังกฤษ พอเสี่ยงดวงจับสลากแพ้ จึงต้องใส่เสื้อสีฟ้าที่ทาง ฝ่ายคณะกรรมการเตรียมสำรองเ อาไว้ เรียกว่าความเป็นมืออาชีพ ของเรายังไม่พร้อมเลย การที่เราแพ้อังกฤษถึง 0 - 9 นั้น ก็นับว่า สมเหตุสมผลแล้ว"
ภายหลังแขวนสตั๊ดแล้ว วิวัฒน์ มิลินทจินดา ยังรับหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอน ให้กับทีมต่าง ๆ ที่สำคัญ อาทิ ทีมฟุตบอลประเพณีมหาวิทยาลั ยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2502 - 2508) โดยมีลูกศิษย์ที่ก้าวขึ้นติ ดธง เช่น อัศวิน ธงอินเนตร, ประเดิม ม่วงเกษม, อัษฎางค์ ปาณิกบุตร ฯลฯ และทีมเทศบาลกรุงเทพมหานครช ุดแชมป์ เยาวชนแห่งประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2513 ที่มีผู้เล่นอนาคตไกลขณะนั้ นอย่าง ประพนธ์ ตันตริยานนท์, ปรีชา กิจบุญ, เกรียงศักดิ์ นุกูลสมปรารถนา, แก้ว โตอดิเทพ ฯลฯ นอกจากสอบได้เป็นผู้ตัดสินฟ ีฟ่าชั้น 1 และต้องปฏิบัติหน้าที่เป็นเ วลาอีก 9 ปี
วิวัฒน์ มิลินท จินดา กล่าวว่า "มีนัดหนึ่งผมต้องไปตัดสินท ี่สนามอองซานประเทศพม่า ในฟุตบอลรอบคัดเลือกโซนเอเช ีย ทีมเจ้า ถิ่นพบกับทีมเกาหลีเหนือ เมื่อหมดเวลาปกติยังเสมอกัน อยู่ 0 - 0 จนต้องต่อเวลาพิเศษออกไปอีก 30 นาที ก็ยังทำ อะไรกันไม่ได้ จึงเสมอกันไป สมัยนั้นจะไม่มีการยิงลูกที ่จุดโทษตัดสินหาผู้ชนะ ผมรู้สึกประทับใจก็ตรงที่ต้ องวิ่ง ตลอดทั้งเกมจนเหนื่อยเลยทีเ ดียว แต่พอไปเล่นที่เปียงยางผมไม ่ได้เดินทางไปตัดสินด้วย เพราะรัฐบาลของเราไม่ มีสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาห ลีเหนือ"
ตำนานลูกหนังเมืองไทยที่ต้อ งจารึก ชื่อ “วิวัฒน์ มิลินทจินดา” ในฐานะของหัวหน้าทีมชาติไทย คนแรก เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2546 หากแต่เรื่องราวของ “เจ้าปืนใหญ่” จะยังคงอยู่คู่ประวัติศาสตร ์วงการฟุตบอลเมืองไทยไปตลอด กาล.
จิรัฎฐ์ จันทะเสน ผู้เขียน
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญ ัติ
วันที่ 6 ตุลาคม 2482 ในรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข เพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศ พุทธศักราช 2482 มาตรา 3 นามประเทศนี้ ให้เรียกว่า "ประเทศไทย" และบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
วิวัฒน์ มิลินทจินดา เป็นชาวพระนคร เกิดวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2465 เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรีย
ต่อมา วิวัฒน์ มิลินทจินดา ได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรี
นอกจากนี้ ในการแข่งขันลูกหนังชิงถ้วย
ในระหว่าง พ.ศ. 2490 - 2498 ทัวร์นาเม้นต์ระดับชาติของท
สำหรับประตูแห่งความทรงจำขอ
แม้การแข่งขันฟุตบอลโอลิมปิ
วิวัฒน์ มิลินทจินดา เคยกล่าวถึงแมตช์โอลิมปิกที
"ในสมัยนั้น มาตรฐานของนักเตะไทย ก็ยังคงเทียบไม่ได้กับทีมจา
ภายหลังแขวนสตั๊ดแล้ว วิวัฒน์ มิลินทจินดา ยังรับหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอน
วิวัฒน์ มิลินท จินดา กล่าวว่า "มีนัดหนึ่งผมต้องไปตัดสินท
ตำนานลูกหนังเมืองไทยที่ต้อ
จิรัฎฐ์ จันทะเสน ผู้เขียน
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญ