บทความ เรื่อง “อ้ายฮก” ตำนานนักเลงฟุตบอล
"กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลส ทำคนให้เป็นคน"
ส่วนหนึ่งจากบทเพลงกราวกีฬา ของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตร ี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ผู้นำกีฬาฟุตบอลเข้ามาสู่แผ ่นดินสยาม แฝงด้วยปรัชญาวิถีแห่งความเ ป็นจริง เนื่องจากปัจจุบัน "วัตถุนิยม" ทำให้ “กีฬา” กลายเป็นเรื่องของธุรกิจและ ผลประโยชน์มหาศาล หากแต่ไร้ซึ่ง “การรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย” ดังอดีตที่การแข่งขันกีฬานอ กจ...ากจะทำให้นักกีฬาละคนดูปราศ จากกิเลสแล้ว บุคลากรเหล่านั้น ภายหลัง คือปูชนียบุคคลที่มีคุณค่าต ่อแผ่นดิน
ขุนประสิทธิ์วิทยกร (ศักดิ์ คุปตะวาณิช) ชื่อเดิม "ฮก" เกิดเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ๒๔๔๒ ณ จังหวัดพระนคร เข้าเรียนหนังสือประโยคประถ มที่โรงเรียนประถมดัดจริต (พ.ศ. 2454) ประโยคมัธยมปลายที่โรงเรียน วัดเบ็ญจมบพิตร (พ.ศ. 2457) และประกาศนียบัตร ป.ป. ที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือ น (พ.ศ. 2460) ก่อนรับราชการเป็นครูรองที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (พ.ศ. 2461) ต่อมาย้ายไปอยู่กระทรวงพาณิ ชย์ และตำแหน่งสุดท้าย คือรองอธิบดีกรมทะเบียนการค ้า (พ.ศ. 2502)
ในด้านกีฬาฟุตบอล เด็กชายฮก เริ่มหัดเตะผลส้มโอและกะโหล กกะลาแทนลูกฟุตบอลบริเวณลาน หน้าศาลเจ้าแถวสามเสน เมื่อมีฝีเท้าอันกร้าวแกร่ง จึงได้ลงแข่งขันชิงโล่ห์ของ กระทรวงธรรมการ ให้กับทีมโรงเรียนวัดเบ็ญจม บพิตร และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาล ัย ตามลำดับ แต่มาสร้างชื่อเสียงกับจุฬา ลงกรณ์ฟุตบอลสโมสร ชุดชนะเลิศถ้วยใหญ่ พ.ศ. 2463
ต่อมา พ.ศ. 2463 ขุนประสิทธิ์วิทยกร ได้ย้ายไปเป็นครูรองที่โรงเ รียนตัวอย่างมณฑลนครไชยศรี "พระปฐมวิทยาลัย" จังหวัดนครปฐม นอกจากการสอนหนังสือแล้วยัง ได้ฝึกสอนการเตะลูกหนังให้ก ับนักเรียนและประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งส่งสโมสรนครไชยศรี เข้าแข่งขันชิงถ้วยพระราชทา นประจำปี โดยรอบชิงชนะเลิศถ้วยน้อยหน ้าพระที่นั่งรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2464 ณ สนามเสือป่าสวนดุสิต สโมสรนครไชยศรี ชนะ สโมสรทหารรักษาวัง 2 - 0 นับเป็นทีมแรกจากมณฑลที่เข้ ามาครองถ้วยในพระนคร ภายหลังยังได้ลงเล่นฟุตบอลช ิงถ้วยทองนักรบให้กับสโมสรเ สือป่าราบหลวง ณ สนามพระราชวังสนามจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2467
"...ในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ ้วยทองนักรบครั้งนี้ ทีมเสือป่าราบหลวงซึ่งมีข้า พเจ้าเป็น Captaion ก็เผอิญได้ถ้วยทองอีก. ซึ่งกรมราบหลวงยังไม่เคยได้ เลย ดูเปนสิ่งที่ควรปลื้มอยู่ ! การมีชื่อเสียงในการเล่นฟุต บอลหน้าพระที่นั่งของข้าพเจ ้า ทำให้มีผู้อิจฉาและปองร้ายอ ยู่ทั่วไป แต่เดชะด้วยความเล่นอย่างใจ นักเลงของข้าพเจ้า ทำให้ข้าพเจ้าแคล้วคลาดจากภ ัยไปได้เสมอ. และเปนที่สบพระทัยของล้นเกล ้า ฯ รัชกาลที่ ๖ ยิ่งนัก. จนทรงเรียกข้าพเจ้าว่า "อ้ายฮก" ทรงรู้จักข้าพเจ้าดีกว่าเมื ่อเวลาขอพระราชทานเงินมากขึ ้น..." (บันทึกขุนประสิทธิ์วิทยกร / ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๗)
อนึ่ง รัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระราชทานเงินให้แก่ ขุนประสิทธิ์วิทยกร เพื่อใช้ปลูกบ้าน จำนวน 2,000 บาท ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อ "อ้ายฮก" นักเลงฟุตบอลที่พระองค์ทรงพ อพระราชหฤทัยในเชิงเล่น
รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้เสด็จประพาสอินโดจีน ผู้สำเร็จราชการอินโดจีนของ ฝรั่งเศส จึงมีหนังสือถึงรัฐบาลสยาม เพื่อให้ส่งทีมฟุตบอลไปแข่ง ขันที่ประเทศเวียดนาม เนื่องในการเสด็จครั้งนี้ โดย ขุนประสิทธิ์วิทยกร รับตำแหน่งหัวหน้าชุดในการล งสนามต่างแดนครั้งแรกของทีม ชาติไทย สำหรับการแข่งขันนัดสำคัญหน ้าพระที่นั่ง หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นได้ตีพ ิมพ์ข่าวและประวัติหัวหน้าช ุดทีมเยือน ทำให้ชาวญวนรู้จักชื่อเสียง นักเตะสยามกันไปทั่วประเทศเ วียดนาม
"...เวลา ๑๗.๐๐ น. เสด็จทอดพระเนตรการแข่งขันฟ ุตบอลล์ ระวางคณะไทยซึ่งเดิรทางมาจา กกรุงเทพ ฯ กับพวกไซ่ง่อน ณ สนามซึ่งอยู่ใกล้กับสปอร์ทค ลับ (Cecle Sportif) เป็นสนามดินเพราะหญ้าแห้งตา ยหมด การเล่นได้เป็นไปโดยความเรี ยบร้อย คณะไทยเป็นฝ่ายเข้มแขงเล่นไ ด้ดีมาก แต่ในครึ่งหลังคนไทยคนหนึ่ง ถูกล้มทับหัวเข่าเคล็ดไม่สา มารถเล่นต่อไปได้ แต่ถึงกระนั้นฝ่ายไทยยังชนะ ๔ ประตูสูนย์ มีราษฎรไปดูกันหลายพันคน สังเกตว่าไม่เอาใจเข้าข้างไ หน ฝ่ายไหนทำได้ดีก็ตบมือให้.. ." (จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาป ระชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่ หัว รัชกาลที่ 7 วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2473)
ระหว่าง พ.ศ. 2472 - 2475 มีสโมสรลูกหนังของฮ่องกง, ไต้หวัน และมาเลเซีย เดินทางเข้ามาแข่งขันในเมือ งไทยหลายครั้ง โดย ขุนประสิทธิ์วิทยกร ขณะนั้นเล่นให้กับสโมสรลุมพ ินี มีโอกาสสำแดงฝีเท้ากับทีมจา กต่างประเทศอยู่บ่อยครั้ง
ขุนประสิทธิ์วิทยกร หรือ “อ้ายฮก” นอกจากเป็นนักกีฬาเอกแล้ว ด้านการรับราชการก็ได้อุทิศ ตนให้แก่แผ่นดินอย่างเต็มกำ ลังความสามารถ โดยเคยไปปฏิบัติราชการที่เม ืองเชียงตุงอันทุรกันดารเป็ นอย่างมาก ก่อนท่านเสียชีวิตเมื่อวันท ี่ 28 เมษายน 2521 หากแต่ชื่อเสียงและความจงรั กภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตร ิย์ ซึ่งจะเห็นได้จากความปลาบปล ื้มทุกครั้งที่ได้ลงเล่นฟุต บอลหน้าพระที่นั่ง ในชุดทีมชาติที่มีตราพระมหา มงกุฎประทับอยู่บนหน้าอกเสื ้อเบื้องซ้าย ในฐานะอดีตหัวหน้าทีมชาติชุ ดแรกที่เดินทางไปสร้างเกียร ติภูมิในต่างแดน นอกจากความภาคภูมิใจของลูกห ลานวงศ์ตระกูล "คุปตะวาณิช" และตำนานนักเลงฟุตบอลสยามปร ะเทศ…ตลอดไป.
จิรัฏฐ์ จันทะเสน ผู้เขียน
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญ ัติ
"กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลส ทำคนให้เป็นคน"
ส่วนหนึ่งจากบทเพลงกราวกีฬา
ขุนประสิทธิ์วิทยกร (ศักดิ์ คุปตะวาณิช) ชื่อเดิม "ฮก" เกิดเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ๒๔๔๒ ณ จังหวัดพระนคร เข้าเรียนหนังสือประโยคประถ
ในด้านกีฬาฟุตบอล เด็กชายฮก เริ่มหัดเตะผลส้มโอและกะโหล
ต่อมา พ.ศ. 2463 ขุนประสิทธิ์วิทยกร ได้ย้ายไปเป็นครูรองที่โรงเ
"...ในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ
อนึ่ง รัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระราชทานเงินให้แก่ ขุนประสิทธิ์วิทยกร เพื่อใช้ปลูกบ้าน จำนวน 2,000 บาท ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อ
รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า
"...เวลา ๑๗.๐๐ น. เสด็จทอดพระเนตรการแข่งขันฟ
ระหว่าง พ.ศ. 2472 - 2475 มีสโมสรลูกหนังของฮ่องกง, ไต้หวัน และมาเลเซีย เดินทางเข้ามาแข่งขันในเมือ
ขุนประสิทธิ์วิทยกร หรือ “อ้ายฮก” นอกจากเป็นนักกีฬาเอกแล้ว ด้านการรับราชการก็ได้อุทิศ
จิรัฏฐ์ จันทะเสน ผู้เขียน
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญ