Web Analytics
ประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทย

บทความ เรื่อง “อ้ายฮก” ตำนานนักเลงฟุตบอล

"กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลส ทำคนให้เป็นคน"
ส่วนหนึ่งจากบทเพลงกราวกีฬา ของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ผู้นำกีฬาฟุตบอลเข้ามาสู่แผ่นดินสยาม แฝงด้วยปรัชญาวิถีแห่งความเป็นจริง เนื่องจากปัจจุบัน "วัตถุนิยม" ทำให้ “กีฬา” กลายเป็นเรื่องของธุรกิจและผลประโยชน์มหาศาล หากแต่ไร้ซึ่ง “การรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย” ดังอดีตที่การแข่งขันกีฬานอกจ...ากจะทำให้นักกีฬาละคนดูปราศจากกิเลสแล้ว บุคลากรเหล่านั้น ภายหลัง คือปูชนียบุคคลที่มีคุณค่าต่อแผ่นดิน

บทความ เรื่อง "ผู้สร้างทีมแห่งความฝัน" ธวัชชัย สัจจกุล

ในทศวรรษที่ “ทีมชาติ” กำลังเกิดวิกฤติศรัทธา เขาสามารถสร้างสีสันและจุดประกายแห่งความหวัง จนทำให้วงการฟุตบอลเมืองไทยกลับสู่ความนิยมอีกครั้ง ด้วยเอกลักษณ์เชื่อมั่นตนเองและลูกทีม แม้ว่าบางคนจะไม่ค่อยชอบสไตล์การทำงานของ “บิ๊กหอย” แต่แฟนลูกหนังชาวไทยทั่วประเทศ จะกล่าวถึงผู้จัดการทีมประวัติศาสตร์ผู้นี้อยู่เสมอ

บทความ เรื่อง "รองประธาน FIFA ผู้สร้างตำนานยุครุ่งเรืองของฟุตบอลเมืองไทย"

ในขณะที่การแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสร “ไทยพรีเมียร์ลีก” กำลังได้รับความนิยมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนทั่วทุกภูมิภาค แต่วลีที่ว่า “ลีกที่แข็งแกร่ง ผลงานทีมชาติก็จะแข็งแกร่ง” กลับสวนทางอย่างสิ้นเชิงกับผลงานระดับชาติ ของ “ทีมชาติไทย” ที่ผ่านมา ถือว่าล้มเหลวในรอบ 38 ปี ทั้งที่ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มีนายกสมาคมเป็นถึง “บอร์ด FIFA” ...อันจะต้องแสดงศักดิ์ยภาพสร้างความสำเร็จระดับทวีป ดังเช่นอดีตกว่า 4 ทศวรรษ คอลูกหนังชาวไทยและเอเชียต่างเคยชื่นชมกับผลงานของ “พล.ต.ท. ต่อศักดิ์ ยมนาค” ในฐานะนายกสมาคมฯ และควบตำแหน่ง “รองประธานฟีฟ่า ฝ่ายกิจการเอเชีย” ผู้สร้างยุครุ่งเรืองของวงการฟุตบอลลุ่มน้ำเจ้าพระยา

บทความ เรื่อง "เลขาผู้สร้างคลังลูกหนัง" มล.แหลมฉาน หัสดินทร

บุรุษผู้เป็นหนึ่งในสามประสานร่วมกันบุกเบิก "ยุครุ่งเรืองของวงการฟุตบอลเมืองไทย" (พ.ศ. 2500 - 2516) คือ “ลุงต่อ” พล.ต.ท. ต่อศักดิ์ ยมนาค และ “นายพันลูกหนัง” พล.อ. ประเทียบ เทศวิศาล เพื่อร่างระบบบริหารงานสมาคมและโครงสร้างการจัดแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศ จนสามารถทำให้ทีมชาติไทยก้าวขึ้นครองถ้วยทองเยาวชนแห่งเอเชีย (พ.ศ. 2505) ชนะเลิศเหรียญทองกี...ฬาเซียพเกมส์ (พ.ศ. 2508) ก่อนที่ธงไตรรงค์จะได้ไปโบกสะบัดเหนือสนามฟุตบอลโอลิมปิก (พ.ศ. 2511) รอบสุดท้าย ณ ประเทศเม็กซิโก

บทความ เรื่อง “บุรุษเหล็กลูกหนังไทย” พิสิษฐ์ งามพานิช

หนึ่งบุรุษแห่งตำนานของวงการกีฬาเมืองไทย เกือบตลอดทั้งชีวิตที่ต้องเดินอยู่บนถนนคนสู้เกม แม้ว่าบั้นปลายกลับเสีย "น้ำตาลูกผู้ชาย" เพราะความทุ่มเทและตั้งใจ ที่กลายเป็นความผิดหวัง หากแต่ประวัติศาสตร์ลูกหนังสยามแล้ว ต้องถูกบันทึกชื่อในฐานะนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ รักษาการณ์คนแรก อันมีเกียรติประวัติเคยลงสนามรับใช้ชาติภายใต้เสื้อ "ธงไตรรงค์" ของทีมชาติไทย

บทความ เรื่อง “ผู้นำกีฬาฟุตบอลสู่อิสาน” พระยาสุนทรพิพิธ

ในประวัติศาสตร์วงการศึกษาของไทย กระทรวงธรรมการยึดหลัก 3 ประการสำคัญ คือการเรียน การเล่นกีฬา และการอบรมจริยธรรม หากนักเรียนทำผิดจะถูกลงโทษเพื่อต้องการให้เกิดความสำนึกดี จึงทำให้สยามประเทศผ่านพ้นวิกฤติการณ์ต่าง ๆ เพราะชาติเรามีทรัพยากรบุคคลที่เคยผ่าน "ไม้เรียว" มาแล้วแทบทั้งสิ้น และผู้บุกเบิกกีฬาลูกหนังบนแผ่นดินอีสาน ก็เช่นกัน

บทความ เรื่อง "ผู้สร้างตำนานอัฒจันทร์ฝั่งตะวันตก" พระเจริญวิศวกรรม

อัครบุรุษของวงการฟุตบอลสยามประเทศ ผู้ปฏิเสธตำแหน่งรัฐมนตรีของคณะราษฎร์ ได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์” ดำรงตนตามคติธรรม 3 ประการแบบตะวันตก คือ INTEGRITY ไม่ปากพูดอย่างใจพูดอย่าง DIGNITY ไม่หมอบกราบผู้ที่ไม่ควรกราบ และ HUMILITY ไม่เอาเด่นเอาดังกับใคร แต่อุทิศกำลังกายและสติปัญญาให้กับราชการงานแผ่นดิน โดยหาญกล้าสร้...างหลังคาสนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ “ตักกศิลาลูกหนัง” มาตรฐานสากลแห่งแรกของกีฬาฟุตบอลไทย อันกลายเป็นตำนานจนถึงปัจจุบัน

บทความ เรื่อง "เพื่อเพื่อน เพื่อชาติ เพื่อเกียรติยศ"

เมื่อสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (THE FOOTBALL ASSOCIATION OF THAILAND UNDER THE ROYAL PATRONAGE OF HISMAJESTIC THE KING) หรือ F.A.T. บริหารงานมาเป็นปีที่ 46 ทีมเยาวชนชาติไทยชนะเลิศฟุตบอลเยาวชนแห่งเอเชีย ครั้งที่ 4 ค.ศ.1962 (พ.ศ.2505) อีก 3 ปีต่อมา ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2508 จึงได้ส่งนักเตะทีมชาติไปอบรมและเก็บตัวฝึกซ้อม ณ สหพันธ์สา...ธรณรัฐเยอรมนี รวมเวลา 45 วัน เพื่อให้นักฟุตบอลมีประสบการณ์และมาตรฐานการเล่นทัดเทียมทีมระดับแนวหน้าของทวีปเอเชียสมัยนั้น อย่างเช่น ทีมชาติพม่า, ทีมชาติเวียดนามใต้, ทีมชาติมาเลเซีย, ทีมชาติอินโดนีเซีย และทีมชาติเกาหลีใต้

บทความ เรื่อง “หมวกพระราชทานทีมชาติสยาม”

ในประวัติศาสตร์กีฬาฟุตบอลทีมแรกของโลก ที่มีการมอบหมวกให้แก่นักเตะซึ่งถูกคัดเลือกเป็นผู้แทนของประเทศ คือ “ทีมชาติอังกฤษ” เมื่อ ค.ศ. 1888 (พ.ศ. 2429) หรือ 123 ปีที่ผ่านมา
Load more