บทความ เรื่อง “นักเตะอาวุโสที่สุดของทีมช าติไทย” บำเพ็ญ ลัทธิมนต์
ตามหลักฐานของสมาคมประวัติศ าสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย (สปท.) ที่ได้สำรวจฐานข้อมูลพบว่าน ักฟุตบอลที่เคยลงเล่นในนาม “ทีมชาติไทย” ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ และมีอายุสูงสุด คือ “บำเพ็ญ ลัทธิมนต์” อดีตนักเตะทีมชาติชุดโอลิมป ิก ครั้งที่ 16 ค.ศ. 1956 (พ.ศ. 2499) ณ เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปัจจุบันมีอายุถึง 81 ปี
อนึ่ง ก่อนปี พ.ศ. 2500 นั้...น ยังไม่มีการก่อตั้งสมาพันธ์ ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC.) ดังนั้น ทำให้การแข่งขันระดับชาติจึ งยังไม่เกิดขึ้น
แต่เมื่อมีสโมสรต่างชาติหรื อทีมชาติต่างๆ เข้ามาประลองฝีเท้าในเมืองไ ทย สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จึงคัดเลือกนักเตะเพื่อเตรี ยมทีมกรุงผสม หรือ “กรุงเทพ 11” ลงสนามในนามตัวแทนของชาติ โดยปัจจุบัน มีผู้เล่นที่เคยลงเล่นในนาม กรุงเทพผสม ที่ยังมีชีวิตอยู่ คือ นายพิสิษฐ์ งามพานิช (เกิด 8 ธ.ค. 2465) อายุ 89 ปี และพล.อ.ประเทียบ เทศวิศาล (เกิด 9 พ.ย. 2468) อายุ 86 ปี
ประวัติของ บำเพ็ญ ลัทธิมนต์ เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2473 ที่จังหวัดอุบลราชธานี จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รุ่นเดียวกับ นายปรีดา รอดโพธิ์ทอง อดีตอธิบดีกรมพลศึกษาและผู้ ตัดสินฟุตบอลระดับ FIFA สมัยแรกของเมืองไทย เริ่มเล่นฟุตบอลให้กับโรงเร ียนประจำจังหวัดจนมีชื่อเสี ยงโด่งดัง พร้อมกับเพื่อนร่วมสถาบัน คือ เกษม ใบคำ และสุชาติ มุทุกันต์ (เสียชีวิต) ภายหลังต่อมาทั้ง 3 คน ได้สร้างชื่อเสียงให้กับเมื องดอกบัว ด้วยการติดทีมชาติไทยชุดโอล ิมปิก ครั้งที่ 16
เมื่อ บำเพ็ญ ลัทธิมนต์ เดินทางเข้ากรุงเทพฯ จึงเข้าสังกัดสโมสรมุสลิมชุ ดชนะเลิศถ้วยน้อย (ถ้วย ข ) 1 สมัย (พ.ศ.2495) ก่อนย้ายไปเล่นให้กับสโมสรต ำรวจชุดชนะเลิศถ้วยน้อย (ถ้วย ข ) อีก 2 ปีซ้อน (พ.ศ. 2496, 2497) และทีมสุดท้ายในชีวิตการค้า แข้ง คือสโมสรธนาคารกรุงเทพฯ ชุดชนะเลิศถ้วยใหญ่ (ถ้วย ก) 1 สมัย (พ.ศ.2507)
โดยก้าวขึ้นติดทีมกรุงเทพผส ม ตั้งแต่ พ.ศ. 2496 ต่อมา เมื่อมีการเปลี่ยนชื่อประเท ศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” จึงเข้าร่วมคัดเลือกตัวกับส ุดยอดนักฟุตบอลของฟ้าเมืองไ ทย จนสามารถติดทีมชาติไทยชุดโอ ลิมปิก ครั้งที่ 16 ณ เมลเบิร์น ค.ศ. 1956 (พ.ศ. 2499) ซึ่งนับเป็นทัวร์นาเมนท์ระด ับโลกรายการแรกของทีมธงไตรร งค์
นอกจากนี้ ยังลงเล่นกีฬาแหลมทอง (SEAP GAMES) ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2502 ที่กรุงเทพฯ แม้ว่ารอบชิงชนะเลิศจะพ่ายแ พ้ต่อทีมชาติเวียดนามใต้ (0-4) ก็ตามที แต่ความภาคภูมิใจตลอดชีวิตท ี่ผ่านมาของ บำเพ็ญ ลัทธิมนต์ คือการได้รับเสื้อสามารถจาก การเล่นฟุตบอล รวมทั้งหมด 7 ตัว จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวฯ ในปัจจุบันด้วยวัย 81 ปี ท่านก็ยังลงเตะลูกหนังและฝึ กสอนเด็ก ๆ ที่เมืองอุบลอยู่เสมอ ด้วยแววตาของลูกผู้ชายหัวใจ ลูกหนัง
สำหรับนักฟุตบอลทีมชาติไทยช ุดโอลิมปิก ครั้งที่ 16 จำนวน 13 คน ดังกล่าว ในปัจจุบัน ยังมีชีวิตอยู่แค่ 6 คน เรียงลำดับตามอายุ ดังนี้ บำเพ็ญ ลัทธิมนต์ (เกิด 21 ก.ย. 2473) อายุ 81 ปี, เกษม ใบคำ (เกิด พ.ศ. 2475) อายุ 79 ปี, ประสันต์ สุวรรณสิทธิ์ (เกิด 7 ต.ค. 2476) อายุ 78 ปี, สำเริง (สำรวย) ไชยยงค์ (เกิด 12 ก.พ. 2476) อายุ 78 ปี สำหรับโสภณ หะยาจันทรา และนิตย์ ศรียาภัย นั้นอายุประมาณ 75 ปีเท่านั้น (ติดทีมชาติรุ่นเดียวกับ ประสันต์ และสำเริง)
วันเวลาที่ผ่านมา มักจะสร้างคลื่นลูกใหม่เพื่ อมาแทนคลื่นลูกเก่า อันเป็นสัจธรรมของโลก เฉกเช่นเหล่าวีรบุรุษลูกหนั งธงไตรรงค์ ได้เคยสร้างเกียรติประวัติแ ละเกียรติภูมิให้กับประเทศช าติเมื่อหลายทศวรรณก่อน แต่จะมีสักกี่คน ที่ยังคงรำลึกถึงพวกเขา…ตำน านนักฟุตบอลเมื่อวันวานของท ีมชาติไทย.
จิรัฏฐ์ จันทะเสน ผู้เขียน
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญ ัติ
ตามหลักฐานของสมาคมประวัติศ
อนึ่ง ก่อนปี พ.ศ. 2500 นั้...น ยังไม่มีการก่อตั้งสมาพันธ์
แต่เมื่อมีสโมสรต่างชาติหรื
ประวัติของ บำเพ็ญ ลัทธิมนต์ เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2473 ที่จังหวัดอุบลราชธานี จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รุ่นเดียวกับ นายปรีดา รอดโพธิ์ทอง อดีตอธิบดีกรมพลศึกษาและผู้
เมื่อ บำเพ็ญ ลัทธิมนต์ เดินทางเข้ากรุงเทพฯ จึงเข้าสังกัดสโมสรมุสลิมชุ
โดยก้าวขึ้นติดทีมกรุงเทพผส
นอกจากนี้ ยังลงเล่นกีฬาแหลมทอง (SEAP GAMES) ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2502 ที่กรุงเทพฯ แม้ว่ารอบชิงชนะเลิศจะพ่ายแ
สำหรับนักฟุตบอลทีมชาติไทยช
วันเวลาที่ผ่านมา มักจะสร้างคลื่นลูกใหม่เพื่
จิรัฏฐ์ จันทะเสน ผู้เขียน
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญ