หมวกพระราชทาน
บทความ เรื่อง “หมวกพระราชทานทีมชาติสยาม”
ในประวัติศาสตร์กีฬาฟุตบอลทีมแรกของโลก ที่มีการมอบหมวกให้แก่นักเตะซึ่งถูกคัดเลือกเป็นผู้แทนของประเทศ คือ “ทีมชาติอังกฤษ” เมื่อ ค.ศ. 1888 (พ.ศ. 2429) หรือ 123 ปีที่ผ่านมา
บทความ เรื่อง “หมวกพระราชทานทีมชาติสยาม”
ในประวัติศาสตร์กีฬาฟุตบอลทีมแรกของโลก ที่มีการมอบหมวกให้แก่นักเตะซึ่งถูกคัดเลือกเป็นผู้แทนของประเทศ คือ “ทีมชาติอังกฤษ” เมื่อ ค.ศ. 1888 (พ.ศ. 2429) หรือ 123 ปีที่ผ่านมา
บทความ เรื่อง "อาเซี่ยนคัพ 1996"
เมื่อสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC.) วางแนวนโยบายให้การแข่งขันลูกหนังกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 21 (พ.ศ.2544) ณ ประเทศมาเลเซีย ผู้เล่นจะต้องมีอายุไม่เกิน 23 ปี เพื่อสอดคล้องกับฟุตบอลโอลิมปิก ดังนั้น ภาคีอาเซียนจึงดำเนินการก่อตั้ง “สหพันธ์ฟุตบอลแห่งอาเซียน” (AFF.) ขึ้น พร้อมทั้งจัดทัวร์นาเม้นต์ของทีมชาติชุดใหญ่ โดยกำหนดให้มีขึ้นสลับกับซีเกมส์ เรียกชื่อรายการว่า “ฟุตบอลอาเซี่ยนคัพ” (THE ASEAN FOOTBALL CHAMPIONSHIP) หรือรู้จักทั่วไปตามชื่อผู้สนับสนุน สมัยนั้นว่า “ไทเกอร์ คัพ” (TIGER CUP)
บทความ เรื่อง "ตราพระมหามงกุฎ"
ในตำนานแห่งประวัติศาสตร์ของวงการลูกหนังโลก คงมีเพียงไม่กี่ทีมเท่านั้น ที่ได้รับเกียรติยศสูงสุดจากสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้นำตราประจำราชวงศ์มาติดเสื้อนักฟุตบอลทีมชาติ ซึ่งองค์พระประมุขของประเทศทรงถือว่า นักฟุตบอลเป็นผู้แทนของชาติ อันเปรียบเสมือนนักรบยามออกศึกสงครามเพื่อแผ่นดิน และหนึ่งในสองนั้น คือทีมชาติไทย
บทความ เรื่อง "โอลิมปิก 1968 เกียรติยศสุดท้าย"
มีคำกล่าวประโยคหนึ่งว่า “หากเริ่มต้นด้วยดีแล้ว ย่อมหมายถึงประสบความสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง” นั้น คงอาจจะใช้กับทีมชาติไทยชุดปรี-โอลิมปิก เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2511 ไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะการประเดิมสนามรอบคัดเลือกกลุ่ม 6 ระหว่างสามชาติ ณ สนามศุภชลาศัยฯ ทีมชาติไทย แพ้ ทีมชาติอิรัก แบบยับเยินถึง 0 - 4 ทำให้แฟนลูกหนังชาวไทยเลิกมองถึงการลุ้นเป็นตัวแทนไปแข่งขันรอบสุดท้าย ที่เม็กซิโก ชิตี้ ลงทันที
บทความ เรื่อง "รถด่วนเมืองละโว้" อุดมศิลป์ สอนบุตรนาค
ในจำนวนนับพันกว่าประตู ที่บรรดานักเตะทีมชาติไทย สามารถพาลูกเข้าไปซุกก้นตาข่ายฝ่ายตรงข้ามได้นั้น มีอยู่เพียง 1 ลูก ซึ่งอาจจะ ถือว่าเป็นประตูประวัติศาสตร์ของทีมลูกหนังจากแดนสยาม ที่ถูกบันทึกไว้ กับวงการฟุตบอลระดับโลก เพราะเกิดขึ้น ณ สนามกีฬาโอลิมปิก เมื่อ 31 ปี ก่อน ด้วยฝีเท้าของ "รถด่วนเมืองละโว้"
บทความ เรื่อง "ก้าวแรกของความสำเร็จ ASIAN YOUTH 1962"
…26 เมษายน 2505 ทีมเยาวชนไทย ชนะ ทีมเยาวชนเกาหลีใต้ 2 - 1…
บทความ เรื่อง “45 วัน ทีมชาติไทยที่ทวีปยุโรป"
เมื่อ 47 ปีที่ผ่านมา สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ภายใต้การบริหารของ พล.ต.ต.ต่อศักดิ์ ยมนาค นายกสมาคมฯ ได้มีนโยบายจะพัฒนามาตรฐานเทคนิคการเล่นของนักเตะทีมชาติไทยให้ทัดเทียมชาติเอเชีย จึงขอความร่วมมือไปยังสมาคมฟุตบอลแห่งสหพันธ์รัฐเยอรมัน เพื่อนำทีมไปเก็บตัวฝึกซ้อม ณ สปอร์ตชูเล่ (Sportscyule) เมืองดุ๊ยส์บวร์ก (Duisburg) ในแคว้นนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลีย (North Rhine Westphalia) แถบลุ่มแม่น้ำไรน์ สถาบันด้านการกีฬาที่มีชื่อเสียง (ก่อตั้ง ค.ศ. 1928)
บทความ เรื่อง “ราชแพทยาลัย” มหาอำนาจหมากเตะ
“แต่วัน แต่วัน ไปดูแข่งขันชิงฟุตบอลถ้วยทอง ถ้วยทองเป็นของพระราชะ ถ้าใครชนะได้รับ
ฯ ถ้วยทอง”
เพลงเชียร์ของนักเรียนแพทย์ เมื่อ 95 ปีที่ผ่านมา ในปีดังกล่าว สโมสรนักเรียนแพทย์เสือป่า ซึ่งมีแพทย์ฝึกหัดจำนวน 6 คน เป็นผู้เล่นอยู่ในทีมสามารถฝ่าดงแข้งนักเลงฟุตบอลเมืองสยาม กว่า 10 สโมสร จนคว้าถ้วยทองของหลวงสำเร็จเป็นสมัยแรก หากแต่วงการหมากเตะยุคนั้นแล้ว “ราชแพทยาลัย” คือมหาอำนาจของยุคทองฟุตบอลเมืองสยาม
บทความ เรื่อง 111 ปี ฟุตบอลไทย
"สยามอารยะกีฬาสากล"
ในวาระครบรอบ 111 ปี ที่กีฬายอดนิยมอันดับหนึ่งของสากล “ฟุตบอล” ได้เข้ามาเผยแพร่และเป็นที่นิยมเล่นกันของชาวสยาม เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2443 ดังนั้น จึงขอย้อนอดีตกาลของ “หมากเตะ” จนถึงปัจจุบันสมัย เพื่อร่วมภาคภูมิใจกับประวัติศาสตร์ชาติแรกแห่งทวีปเอเชียที่เป็นสมาชิก FIFA ลำดับที่ 37 ของโลก ดังต่อไปนี้